Thursday, February 24, 2011

LA CON TECH III Trip ที่ราชกรีฑาสโมสร (RBSC)


เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2554 อาจารย์ฉมาวงศ์ สุริยจันทร์ พานิสิตชั้นปีที่ 3 วิชา LA CON TECH III ไปทัศนศึกษาที่ราชกรีฑาสโมสร (RBSC) โดยได้ดูระบบบำบัดน้ำเสีย การออกแบบและการจัดการสนามกอล์ฟ โดยมีคุณธนิต สวัสดิ์รัมย์เป็นวิทยกรนำชมสถานที่

Labels:


Wednesday, February 23, 2011

อาจารย์เข้าอบรมโครงการพัฒนาคณาจารย์ฯ


เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2554 อ.ภาวดี ธนวิสุทธิ์ เข้าอบรมในโครงการพัฒนาคณาจารย์เพื่อการเรียนการสอนยุคใหม่ หัวข้อ มายด์ แมป (Mind Map) เพื่อการเรียนการสอน โดย อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ณ ห้อง 205 ชั้น 2 อาคารจามจุรี 3 (เวลา 13.00 – 16.00 น.)

Labels:


Friday, February 11, 2011

Special lecture : Tokyo Drifters : Urban Fringe, Urban Farming, and Urban Agriculture Landscape

การบรรยายพิเศษ หัวข้อ Tokyo Drifters : Urban Fringe, Urban Farming, and Urban Agriculture Landscape โดยนิสิตปริญญาโท วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 1600-1800 น. ที่ห้อง 211 ในโครงการทัศนศึกษา Landscape Field Study 2010 : APIEL Program

Labels: , ,


Thursday, February 10, 2011

นิสิตได้รับรางวัลประกวดออกแบบลานหน้าหอศิลป์

จากการส่งผลงานเข้าร่วมประกวดแบบระดับนิสิตนักศึกษา พื้นที่ลานหน้าหอศิลป์ กรุงเทพฯ(BACC) จัดโดยสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย (TALA) และบริษัทเคอร่าไทล์ มีผลงานส่งเข้าร่วมประกวดแบบทั้งสิ้น 128 ผลงาน
ในรอบ20ทีมสุดท้าย มีนิสิตภาควิชาฯชั้นปีที่ 3 และ 4 ได้เข้ารอบทั้งหมด 18 ทีม และได้รับรางวัล ดังนี้
รางวัลที่ 1 นางสาวเกษมา รัตโนภาส
รางวัลที่ 2 นางสาวพัชรา คงสุผล
รางวัลที่ 3 นางสาวฐิติพร อนุสรณ์วงศ์ชัย

ทีมที่เข้ารอบ 20 ผลงานสุดท้าย
1. นางสาวกนกวรรณ มงคลลาภกิจ

2. นางสาวนันทควีน บูรณรัชดา

3. นางสาววนิดา หนุ่มสุข

4. นางสาวสุภาวดี นิมะวัลย์

5. นายเอกวิทย์ ทองดีวรกุล

6. นางสาวธิตยา เลิศภาวศุทธิ

7. นางสาวธนิตา ศิลป์ฟ้าพานิช

8. นางสาวนภจร ศรีฉัตรสุวรรณ

9. นายนิติพันธุ์ แก้วสุวรรณ์

10. นายปิยวุฒิ คุ้มสิริพิทักษ์

11. นายเมธัส ลีนะศิริ

12. นายฤธวัฐร์ เฉลิมวิริยะ

13. นางสาวศุทธิดา วงศ์เทียมชัย

14. นางสาวสวรรยา พุทธวรรณ

15. นายอดิษฐ์ สกุลไพศาลสิน


โดยคณะกรรมการประกอบด้วยนายกสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย ตัวแทนกรรมการจากสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย กรรมการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ และกรรมการจากบริษัทเคอร่าไทล์ โดยมีอาจารย์กนกวลี สุธีธร เป็นตัวแทนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นกรรมการในการประกวดแบบ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2554 ที่อาษาเซ็นเตอร์ ผลงานที่เข้าได้จัดแสดงที่งาน ASA exhibition ที่เมืองทองธานีระหว่างวันที่ 8-13 กุมภาพันธ์ 2554

Labels: ,


Special lecture : Landscape Architects as a Social Entrepreneur !?!

คุณกชกร วรอาคม ภูมิสถาปนิกผู้สร้างสรรโครงการ Kounkuey Initiative : Work sessions in the Kibera slums of Nairobi บรรยายพิเศษหัวข้อ Landscape Architects as a Social Entrepreneur !?! เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 14.00-16.00 น. ที่ห้อง 219

Labels: ,


Wednesday, February 09, 2011

ทัศนศึกษา ชุมชนริมน้ำอัมพวา


เมื่อวันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 13.00-18.00 น. อาจารย์รณฤทธิ์ ธนโกเศศ ได้นำนิสิตชั้นปีที่ 3-4-5 ในวิชา INTRO CULTURAL LANDSCAPE จำนวน 11 คน เยี่ยมชมชุมชนริมน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยการเดินชมพื้นที่ชุมชนริมน้ำที่มีอาคารบ้านเรือนตั้งเรียงรายอยู่สองฝั่งคลอง หันหน้าเข้าหาทางน้ำ ศึกษาองค์ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรม ทั้งตัวบ้านเรือน ทางเดินริมน้ำ ท่าน้ำ สะพานข้ามคลอง สัตว์ พืชพรรณ ตลอดจนระบบการทำสวน โครงสร้างการขุดท้องร่องก่อคันดินแบบดั้งเดิม เน้นการเรียนรู้ในเรื่องของความเป็นเมืองน้ำและวิถีชีวิตที่สอดคล้องกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก การท่องเที่ยวเข้ามามีบทบาทสำคัญ กิจกรรมตลาดน้ำในวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ ชุมชนมีความคึกคักและผู้คนภายนอกเข้ามามากมาย แต่วันจันทร์-พฤหัสบดีชุมชนมีความเงียบเหงา สงบนิ่ง

Labels: ,


ภาควิชาฯร่วมกับสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทยในงานสถาปนิก 54



ภาควิชาฯโดย อ.กนกวลี สุธีธร, อ.สิรินทรา วรรณโณ และนิสิตภาควิชาฯร่วมจัดนิทรรศการกิจกรรม 2011 IFLA APR Student Charette และแนะนำภาควิชาฯ ในบริเวณนิทรรศการ TALA Showcase ส่วนหนึ่งของงานสถาปนิก 54 โดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ระหว่างวันที่ 8-13 กุมภาพันธ์ 2554 ณ อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือร่วมใจและความเข้าใจอันดีระหว่างสถาปนิก นิสิตนักศึกษา รวมทั้งมวลสมาชิกในวิชาชีพเดียวกันและวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

Labels: , , ,


Sunday, February 06, 2011

Design & Architecture Portfolio # 1



วันจันทร์ที่ 31 มกราคม 2011 อาจารย์ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรมสองท่านร่วมเสนอผลงานวิชาชีพสถาปัตย์และการออกแบบ Design & Architecture Portfolio - DAP ครั้งที่ 1
โดย อาจารย์ฉมาวงศ์ สุริยจันทร์ เสนอผลงาน "การออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์ริมถนนเชื่อมสัมพันธ์" และ อาจารย์ภาวิณี อินชมภู เสนอผลงาน "การออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณศูนย์ราชการหนองจอก" ณ ห้องนิทรรศการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

Labels: ,


Friday, February 04, 2011

สมเด็จพระเทพฯโปรดให้คณาจารย์และนิสิตภาควิชาฯเข้าเฝ้า

ระหว่างวันที่ 18 และ 19 มกราคม พ.ศ. 2554 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทอดพระเนตรกิจการของ ศูนย์การเรียนรู้และบริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดน่าน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จุลาสัย คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นำ ผู้ช่วยศาสตราจารย์คมกริช ธนะแพทย์ อาจารย์ปริญญ์ เจียรมณีโชติ โดยมี อาจารย์ปารณ ชาตกุล นำนิสิตภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม จำนวน 8 คน และอาจารย์ศรันยา เสี่ยงอารมณ์ นำนิสิตภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรมจำนวน 6 คนเข้าเฝ้ากราบบังคมทูลถวายรายงานใน 2 ส่วนอันประกอบด้วย

ส่วนที่หนึ่งดำเนินการโดยภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรมได้แก่ แบบฝึกหัดงานปรับปรุงพื้นที่บริเวณทางเข้าเมืองน่าน ซึ่งนิสิตได้วิเคราะห์พื้นที่และความสัมพันธ์ของผู้ใช้งานแล้วนำเสนอแนวความคิดในการปรับปรุงออกเป็น 3 แนวทาง ภายใต้เอกลักษณ์ของจังหวัดน่าน ได้แก่

1. คำนึงถึงเอกลักษณ์ดั้งเดิมของจังหวัดน่านและการใช้ชีวิตเรียบง่ายตามวิถีชีวิตของชาวน่าน การพัฒนาจะเป็นไปอย่างยั่งยืน ไม่คำนึงถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในกระแสทุนนิยม ใช้การสื่อถึงภาพลักษณ์ของวิถีชีวิตชาวน่าน ผ่านการใช้องค์ประกอบที่เน้นความเป็นธรรมชาติ มีสิ่งก่อสร้างแต่น้อยตามแบบแผนดั้งเดิม
2. ชาวบ้านเป็นเจ้าของกิจการร้านค้าจึงมีการออกแบบให้บริเวณ ๒ ข้างถนนทางเข้าวัดพญาวัดมีร้านค้าขายสินค้าพื้นเมืองเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาอุดหนุนซื้อของฝากกระจายรายได้สู่ชุมชน คำนึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับวิถีชีวิต ทางด้านวัฒนธรรม ประเพณีและการท่องเที่ยว
3. เปิดโอกาสให้นายทุนเข้ามาลงทุนเพื่อกระตุ้นการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก พัฒนาเมืองน่านให้เป็นเมืองท่องเที่ยว เน้นการตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวเป็นหลักด้วยบรรยากาศความเป็นเมือง

หลังจากทรงซักถามถึงรายละเอียดแล้ว ได้พระราชทานข้อชี้แนะต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อนิสิตเป็นอย่างยิ่ง พร้อมกันนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้คณาจารย์และนิสิตได้เข้าศึกษาพืชพรรณไม้ของไทย พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ผลที่ทรงปลูกไว้ในบริเวณเขตพระราชฐาน ณ พระตำหนักธงทอง

ส่วนที่สองดำเนินการโดยภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม ได้แก่ การออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าและผลิตภัณฑ์ ที่ทำจากกระดาษ อันเป็นการต่อยอดผลงานวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ ในการนำเศษเปลือกข้าวโพดที่เหลือทิ้งมาใช้ประโยชน์ผลิตเป็นกระดาษข้าวโพด ซึ่งจะทำให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดในจังหวัดน่านมีทางเลือกในการนำเปลือกข้าวโพดมาแปรรูป แทนการเผาทิ้งอันก่อให้เกิดมลภาวะและนำไปสู่ปัญหาโลกร้อน

อนึ่ง การถวายรายงานในครั้งนี้ สืบเนื่องจากคณาจารย์และนิสิตกลุ่มดังกล่าวได้เดินทางไปศูนย์การเรียนรู้และบริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดน่าน เพื่อฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม ใน ระหว่างวันที่ 12-19 มกราคม 2554

Labels: ,


This page is powered by Blogger. Isn't yours?