Friday, September 29, 2006

บทความของ ดร.ดนัยได้ตีพิมพ์ในวารสาร Topos

บทความทางวิชาการ ของ อ.ดร.ดนัย ทายตะคุ ร่วมกับ อ. ดร. Brian McGrath ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Topos ฉบับที่ 56 (Cultural Landscapes) ชื่อบทความ Bangkok's Agri- and Aquaculture Fringe อ่านบทความได้ที่นี่

Labels: ,


Thursday, September 28, 2006

งานบริการวิชาการ หัวข้อ Highway Landscape

กรมทางหลวงได้ว่าจ้าง ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำรายงาน การปรับปรุงและออกแบบภูมิทัศน์ทางหลวง ระยะเวลา 300 วัน งบประมาณ 10 ล้านบาท โดยเริ่มต้นดำเนินงาน 22 กันยายน 2549 โดยมี รศ. จามรี อาระยานิมิตสกุล เป็นหัวหน้าโครงการ

Labels:


Wednesday, September 27, 2006

การประกวดสวนกลางคืน จัดโดยบ้านและสวน

ขอแสดงความยินดีให้กับนิสิตประจำภาควิชาที่เข้ารอบชิงชนะเลิศ ในการประกวดออกแบบสวนกลางคืน(Twilight Garden) จัดโดยบ้านและสวน รอบชิงชนะเลิศ : คัดเลือกผู้เข้ารอบ 10 ท่าน สุดท้ายได้แก่

ผู้เข้ารอบจะต้องเข้าจัดสวนจริง ณ ลานประกวด ใน Green House ชาเลนเจอร์ 2 ให้แล้วเสร็จ ในวันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2549 เพื่อแสดงผลงานตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2549 ในงาน "บ้านและสวนแฟร์ 2006" ขอเชิญทุกท่านเข้าชมผลงานนิสิตได้ในวันและเวลาดังกล่าว

Labels:


Monday, September 25, 2006

เจ้าหน้าที่ภาคเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุ 2549

เจ้าหน้าที่ภาค 2 คนคือ คุณวิเชียร และคุณปัทมาวดี เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ครั้งที่ 1 ในวันอังคารที่ 26 กันยายน เวลา 8.00-12.00 น. ห้อง 201 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เพื่อเตรียมการตรวจสอบพัสดุที่จะมีขึ้นต่อไป

Labels: ,


Monday, September 18, 2006

อาจารย์อริยา ร่วมเป็นกรรมการตัดสินนานาชาติ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์อริยา อรุณินท์ ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม ได้รับเชิญเป็นกรรมการนานาชาติ (International judge) เพื่อตัดสินผลงานออกแบบสวนและภูมิทัศน์ “An Oasis of Beauty” จากคณะกรรมการจัดงาน The Malaysia International Landscape and Garden Festival (LAMAN 2006) โดย กรมภูมิทัศน์แห่งชาติ, กระทรวงเคหะการและการวางแผน และ หน่วยงานของรัฐและเอกชนอื่นๆ ของประเทศมาเลเซีย ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 2 ณ สวนสาธารณะเก่าแก่ของเมืองกัวลัมเปอร์ (Lake Garden)

ดูภาพสวนจากงาน LAMAN 06 และภาพจากการเดินทางครั้งนี้ของ อาจารย์อริยา ที่ http://www.geocities.com/laman_06

Labels: ,


การอบรม Landscape Architecture Executive Workshop รุ่นที่ 1


ภาควิชาฯได้จัดการอบรมหลักสูตร หลักการออกแบบและจัดภูมิทัศน์เมืองเพื่อการท่องเที่ยว รุ่นที่ 1/2549 ระหว่างวันที่ 2-5 สิงหาคม 2549 จำนวนผู้เข้ารับการอบรม ประมาณ 80 ท่าน เป็นเจ้าหน้าที่ระดับกลางถึงสูงที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบและจัดภูมิทัศน์เมือง จากส่วนราชการในทุกภูมิภาค จากหน่วยงานต่อไปนี้

1. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด
2. โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด
3. พัฒนาการจังหวัด
4. ศูนย์ท่องเที่ยว กีฬา นันทนาการจังหวัด
5. กรุงเทพมหานคร เป็นต้น

อ่านรายละเอียดกิจกรรมนี้จาก เว็บไซต์การอบรม

Labels: ,


การเตรียมความพร้อมรับการตรวจสอบ สมศ.



13-16 เดือนพฤศจิกายน 2549 คณะกรรมการจาก สมศ. มีกำหนดที่จะมาตรวจประเมินคุณภาพ คณบดีขอให้พวกเราเตรียมพร้อมในการอาจถูกเชิญให้ข้อมูลในเรื่องการเรียนการสอน การวิจัย และอื่นๆ!!! กำหนดตรวจเยี่ยมที่คณะวันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน

ดรรชนีสำหรับการประเมินภายนอก

  1. จำนวนกลุ่มสาขาวิชาที่เปิดสอนในสถาบัน
  2. จำนวนหลักสูตรที่เปิดสอน
  3. จำนวนอาจารย์ประจำ
  4. วุฒิการศึกษาของอาจารย์ประจำ
  5. ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ประจำ
  6. จำนวนนักวิจัยทั้งหมด
  7. จำนวนนิสิตทั้งหมด
  8. จำนวนนิสิตเต็มเวลาเทียบเท่า
  9. จำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาทั้งหมด
  10. จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ตามแบบสำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิต
  11. จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ได้งานทำและประกอบอาชีพอิสระใน 1 ปี
  12. จำนวนนิสิตปริญญาตรีที่ศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา
  13. จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ได้ทำงานตรงสาขาที่สำเร็จการศึกษา
  14. จำนวนบัณฑิตที่ได้รับเงินเดือนเริ่มต้นตามเกณฑ์ กพ. (7,630 บาท/เดือน)
  15. ค่าฉลี่ยความพึงพอใจของนายจ้าง ผู้ประกอบการ และผู้ใช้บัณฑิต
  16. จำนวนนิสิตหรือศิษย์เก่าที่จบการศึกษาไม่เกิน 3 ปี ที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณยกย่องในด้านวิชาการ วิชาชีพ คุณธรรมจริยธรรม หรือรางวัลทางวิชาการด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพบัณฑิตในระดับชาติ/นานาชาติในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา
  17. จำนวนวิทยานิพนธ์และงานวิชาการของนิสิตที่ได้รับรางวัลในระดับชาติ/นานาชาติ ภายในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา
  18. จำนวนวิทยานิพนธ์ทั้งหมด
  19. จำนวนบทความจากวิทยานิพนธ์ที่ตีพิมพ์เผยแพร่
  20. จำนวนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่ตีพิมพ์เผยแพร่หรือนำไปใช้ประโยชน์
  21. จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
  22. จำนวนอาจารย์ประจำที่ได้รับทุนทำวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
  23. จำนวนอาจารย์ที่เข้าร่วมประชุมวิชาการและ/หรือ นำเสนอผลงานวิชาการ
  24. จำนวนบทความวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง (Citation) ใน refereed journal
  25. จำนวนผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการจดทะเบียนในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา
  26. จำนวนกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการและวิชาชีพตอบสนองความต้องการของสังคม ชุมชน
  27. จำนวนอาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษา เป็นกรรมการวิทยานิพนธ์ภายนอกสถาบันเป็นกรรมการวิชาการและกรรมการวิชาชีพ
  28. ค่าใช้จ่ายและมูลค่าของสถาบันในการบริการวิชาการและวิชาชีพเพื่อสังคม
  29. จำนวนแหล่งให้บริการวิชาการและวิชาชีพที่ได้รับการยอมรับ
  30. รายรับของสถาบันในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพในนามสถาบัน
  31. จำนวนกิจกรรมในการอนุรักษ์ พัฒนา และสร้างเสริมเอกลักษณ์ ศิลปะและวัฒนธรรม
  32. ค่าใช้จ่าย และมูลค่าที่ใช้ในการอนุรักษ์ พัฒนา และเสริมสร้างเอกลักษณ์ ศิลปะและวัฒนธรรม
  33. มูลค่าสินทรัพย์ถาวร
  34. ค่าใช้จ่ายทั้งหมด
  35. งบดำเนินการทั้งหมด
  36. เงินเหลือจ่ายสุทธิ
  37. เงินรายรับทั้งหมด
  38. งบประมาณสำหรับการพัฒนาอาจารย์
  39. จำนวนบุคลากรประจำสายสนับสนุนที่ได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะในวิชาชีพ
  40. จำนวนบุคลากรประจำสายสนับสนุนที่เข้าร่วมประชุมวิชาการหรือนำเสนอผลงานวิชาการ
  41. จำนวนบุคลากรสายสนับสนุนทั้งหมด
  42. จำนวนนิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนานิสิตหรือกิจกรรมนอกหลักสูตร
  43. จำนวนโครงการพัฒนานิสิตหรือกิจกรรมนอกหลักสูตร
  44. ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในระบบห้องสมุด
  45. ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ และศูนย์สารสนเทศ
  46. มีการพัฒนาสถาบันสู่องค์การเรียนรู้โดยอาศัยผลการประเมินจากภายในและภายนอก
  47. มีการกำหนดแผนกลยุทธ์ที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ (ระดับ)
  48. การใช้ทรัพยากรภายในและภายนอกสถาบันร่วมกัน (ระดับ)
  49. ศักยภาพของระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร การเรียนการสอน และการวิจัย (ระดับ)
  50. การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพคณาจารย์ (Professional Ethics) (ระดับ)
  51. กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการเรียนรู้จากการปฏิบัติและประสบการณ์จริง
  52. ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของนิสิตต่อคุณภาพการสอนของอาจารย์และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
  53. ระบบกลไกในการประกันคุณภาพภายในที่ก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (ระดับ)
  54. ประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายใน (ระดับ)
  55. มีการนำความรู้และประสบการณ์จากการบริการวิชาการและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัย (ระดับ)
อ้างอิงจาก เว็บไซต์ประกันคุณภาพคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มห่าวิทยาลัย

Labels:


An Inconvenient Truth


ภาควิชาฯ พานิสิตและคณาจารย์ไปชมภาพยนตร์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เรื่อง An Inconvenient Truth ที่โรงภาพยนตร์ สกาล่า ในวันที่ 26 กันยายน 2549 เวลา 14.00 น. ทั้งหมดมี นิสิต 67 คน และคณาจารย์ 3 ท่าน

Labels: , , ,


ยินดีต้อนรับอาจารย์และเจ้าหน้าที่ประจำภาควิชาคนใหม่

อาจารย์วิลาสินีผลการสอบเพื่อเข้าบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ ของภาควิชาฯ เมื่อ กลางเดือนกันยายน 2549 คือ
นางสาว วิลาสินี สุขสว่าง อาจารย์จะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ในภาคปลายปีการศึกษา 2549 นี้
และเจ้าหน้าที่ประจำภาค นางสาวปัทมาวดี บุษยะมา ได้เริ่มปฏิบัติงานที่ภาควิชาแล้ว

Labels: ,


CV อาจารย์ประจำภาควิชา

คณาจารย์ประจำ


รองศาสตราจารย์ นิลุบล คล่องเวสสะ
CV : E-mail or 2nd E-mail
หัวหน้าภาควิชาฯ จบการศึกษาปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต และปริญญาตรี สาขาสถาปัตยกรรม จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผลงานการวิจัยและให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานราชการ ในด้านการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมเมือง สวนสาธารณะ พื้นที่นันทนาการ พฤติกรรมมนุษย์ในที่สาธารณะ


รองศาสตราจารย์ จามรี อาระยานิมิตสกุล
CV : E-mail
รองคณบดี จบปริญญาโท สาขาภูมิสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา มีผลงานการออกแบบวางผัง และคู่มือการพัฒนาภูมิทัศน์ให้แก่หน่วยงานราชการ เช่น อุทยานแห่งชาติ และเมืองเพื่อการท่องเที่ยวต่าง ๆ ในอดีตเคยเป็นนายกสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย มีผลงานจัดการประชุมนานาชาติทางภูมิสถาปัตยกรรมในประเทศไทย


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรพรรณ ฟูตระกูล

จบปริญญาตรี เกียรตินิยม จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท เกียรตินิยม สาขาภูมิสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และปริญญาเอก ด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล มีผลงานวิจัยที่เน้นเรื่องท้องถิ่น


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อังสนา บุณโยภาส
E-mail
จบปริญญาเอก สาขาการออกแบบสิ่งแวดล้อม (Environmental Design) จากมหาวิทยาลัยเทกซัส เอแอนด์เอ็ม สหรัฐอเมริกา โดยดุษฎีนิพนธ์มีหัวข้อเกี่ยวกับ การประเมินศักยภาพเพื่อการท่องเที่ยวของเกาะสมุย มีความเชี่ยวชาญพิเศษทางด้านการวางแผนการท่องเที่ยว และสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อการวางแผนออกแบบสิ่งแวดล้อม และมีผลงานวิชาการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่ดินเสื่อมโทรม (Brownfield)


ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร. พงศ์ศักดิ์ วัฒนสินธุ์
E-mail
รองผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการสภาสถาปนิก ตัวแทนสาขาภูมิสถาปัตยกรรม จบปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยบริทิชโคลัมเบีย เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ในสาขาเกี่ยวกับการวางแผนชุมชนและภูมิภาค มีผลงานการวิจัยและวางแผนหลายชิ้น ทั้งในนามของภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม และสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม


รองศาสตราจารย์ อริยา อรุณินท์
Homepage: CV : E-mail



ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นวณัฐ โอศิริ
E-mail
ได้ทุนจากมหาวิทยาลัยไปศึกษาต่อและจบปริญญาเอกจาก The School of Oriental and African Studies (SOAS) มหาวิทยาลัยลอนดอนจบปริญญาโทในสาขาภูมิสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อ พ.ศ. 2538 และปริญญาตรีทางด้านเดียวกัน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลงานวิจัยดีเด่น จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความสนใจทางด้านภูมิทัศน์วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และงานภูมิสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น


อาจารย์ ดร. ดนัย ทายตะคุ
CV : E-mail
จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สหรัฐอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านการวางแผนสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ โดยใช้เครื่องมือ สารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) จบปริญญาโท สาขาภูมิสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อ พ.ศ. 2533 ปริญญาตรีสาขาภูมิสถาปัตยกรรม จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผลงานบทความชื่อ Tasting the Periphery: Bangkok’ s Agri and Aqua-cultural Fringe


อาจารย์ ฉมาวงศ์ สุริยจันทร์
CV : E-mail or 2nd E-mail
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาภูมิสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศึกษาต่อจนจบปริญญาโท สาขาภูมิสถาปัตยกรรม 2 ใบจากที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย, มหาวิทยาลัยวอชิงตัน เมืองซีแอทเทิล และสาขาออกแบบชุมชนเมือง จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน เมืองซีแอทเทิล สหรัฐอเมริกา โดยทุนจากรัฐบาลไทย ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หัวข้อเกี่ยวกับการบริหารระบบจัดการน้ำเสีย


อาจารย์ ภาวิณี อินชมภู
Email or 2nd E-mail
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาภูมิสถาปัตยกรรม จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจบปริญญาโท สาขาภูมิสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ได้รับทุนจากรัฐบาลไทย ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน เมืองซีแอทเทิล สหรัฐอเมริกา


อาจารย์ กนกวลี สุธีธร
CV : E-mail or 2nd E-mail
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร จบปริญญาโท สาขาภูมิสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน เมืองซีแอทเทิล (Seattle) ประเทศสหรัฐอเมริกา เคยได้รับทุนไปเสนอผลงานที่ต่างประเทศในการประชุมนานาชาติ ของสมาพันธ์ภูมิสถาปนิกนานาชาติ ที่ประเทศสก็อตแลนด์ หัวข้อเกี่ยวกับผลกระทบของการพัฒนาการท่องเที่ยวต่อภูมิสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น


อาจารย์ โกสิต อิสรียวงศ์
E-mail or 2nd E-mail
จบปริญญาโทและตรีจากภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างศึกษาปริญญาโทที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับทุนแลกเปลี่ยนภายใต้โครงการ UMAP ไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย


อาจารย์ ภาวดี ธนวิสุทธิ์
CV : E-mail
จบปริญญาโท สาขาภูมิสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน เมืองซีแอทเทิล สหรัฐอเมริกา เคยปฏิบัติวิชาชีพในสำนักงานออกแบบและบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ธนายง


อาจารย์ สิรินทรา วัณโณ
CV : E-mail
จบปริญญาโท 2 สาขา (สถาปัตยกรรม และภูมิสถาปัตยกรรม) จบปริญญาตรีและโทสาขาสถาปัตยกรรม จาก Savannah College of Art and Design-SCAD สหรัฐอเมริกา และจบปริญญาโทในสาขาภูมิสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา สนใจเรื่องต้นไม้


อาจารย์ วิลาสินี สุขสว่าง
E-mail
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร จบปริญญาโท ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต จากภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนใจงานศึกษาการประเมินผลกระทบทางสายตาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์


อาจารย์ ปารณ ชาตกุล CV : E-mail
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสถาปัตยกรรมภายใน จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบปริญญาโท ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต จากภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนใจงานภูมิทัศน์ภายใน และวัสดุพืชพรรณ



คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ


ศาสตราจารย์กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ
CV : E-mail
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ศึกษาต่อปริญญาโทสาขาภูมิสถาปัตยกรรมที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ปริญญา Master of Landscape Architecture ผลงานสำคัญของศาสตราจารย์กิตติคุณเดชา คือการบุกเบิกวิชาชีพและการวางรากฐานการศึกษาภูมิสถาปัตยกรรมของประเทศไทย มีผลงานออกแบบมากมาย


อาจารย์ กี ขนิษฐานันท์




อาจารย์ กนก เหวียนระวี

นักธุรกิจเจ้าของกิจการบ้านจัดสรรและสนามกอล์ฟกรุงกวี มีความเชี่ยวชาญทางด้านพืชสวน จบปริญญาตรีและโทในสาขาพืชสวน จากมหาวิทยาลัยมิสซุรี สหรัฐอเมริกา

Labels:


This page is powered by Blogger. Isn't yours?