Saturday, October 31, 2009

Studio site visit: กรุงกวี


เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2552 รศ.จามรี อาระยานิมิตสกุล อ.โกสิต อิสรียวงศ์ อ.กนกวลี สุธีธร และ อ.ปารณ ชาตกุล ได้นำนิสิตชั้นปีที่ 2 ดูพื้นที่เพื่อการออกแบบในวิชา Studio1: ออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมในกลุ่มบ้านพักอาศัย ณ กรุงกวีสโมสร ทั้งนี้ รศ.จามรี และ อ.กนกวลี ได้นำนิสิตระดับปริญญาโท ศึกษาเรื่องพืชพันธุ์ด้วย

Labels: , , ,


Wednesday, October 28, 2009

ประกวดสวนแนวตั้ง งานบ้านและสวนแฟร์ 2009


เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2009 ได้มีการประกาศผลรางวัลงานบ้านและสวนแฟร์ 2009 ในการเข้าร่วมประกวดออกแบบ “สวนแนวตั้ง” (Vertical Garden)

รางวัลชนะเลิศ สวนบ้านยาจีน จากพี่บัณฑิต นายพลวัฒน์ ภูไท ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท
รางวัลชมเชย ได้รับทั้งหมด 3 รางวัล รางวัลละ 7,000 บาท ได้แก่

โดยมีอ.สิรินทรา วัณโณ เข้าร่วมเป็นกำลังใจในการตัดสินและพิธีมอบรางวัล


และเมื่อวันที่ 31 พ.ย. 2552 ได้มีการประกาศผลรางวัลมหาชน มีทีมที่ได้รับรางวัล

รางวัลรองชนะเลิศคะแนนมหาชน ได้รับเงินรางวัล 8,000 บาท คือทีม Local Rotate

Labels: ,


the 46th IFLA World Congress, Rio De Janeiro, Brazil

รศ. อริยา อรุณินท์ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักบริหารวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาควิชาฯ ในการเดินทางไปนำเสนอผลงานทางวิชาการ Dealing with Climate Change Disaster in Thailand ใน Session : New Roles of Landscape Architects ของการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ IFLA World Congress ครั้งที่ 46 ที่กรุงเดอจาเนโร ประเทศบราซิล และเป็นตัวแทนประเทศไทย (National delegate) ร่วมประชุม World Council และ APR meeting ในระหว่างวันที่ 19-26 ตุลาคม 2552

Labels: ,


นิสิตชั้นปีที่ 2 และ 3 ทัศนศึกษางานบ้านและสวน2009


เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552 อาจารย์สิรินทรา วัณโณ และอาจารย์ปารณ ชาตกุล ได้นำนิสิตชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 จำนวน 76 คน ในวิชา landscape horticulture ทัศนศึกษางานบ้านและสวนแฟร์ 2009 ที่ Impact เมืองทองธานี

Labels: ,


Tuesday, October 27, 2009

เสวนาสถาปัตยกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 "พลังงาน กับ การออกแบบ"


เสวนาสถาปัตยกรรมแห่งชาติ "เมืองน่าอยู่แบบไทย ทำอย่างไร"

ครั้งที่ 1 "พลังงาน กับ การออกแบบ"

อ.กนกวลี สุธีธร เป็นตัวแทนสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย(TALA) ร่วมเสวนาในงานสัมมนาสถาปัตยกรรมแห่งชาติ ในหัวข้อ เรื่อง "พลังงาน" จัดโดยสภาสถาปนิก ร่วมกับสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ อาษาเซ็นเตอร์ ชั้น 5 Siam Discovery วันที่ 21ตุลาคม2552 เวลา 18.00-21.00น.

โดยมีตัวแทนจาก 4สมาคม คือ สมาคมนักผังเมืองไทย สมาคมสถาปนิกสยาม สมาคมภูมิสถาปนิกไทย และสมาคมนักออกแบบภายใน

โดยการเสวนาครั้งนี้ เป็นการจัดเสวนาครั้งแรกในทั้งหมด 4 ครั้ง โดยมีหัวข้อการเสวนาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพสถาปัตยกรรมและการออกแบบ ได้แก่ พลังงาน ผู้สูงอายุ (2 ธ.ค.)  การจัดการน้ำ และสุขภาพ 

Labels:


อาจารย์เข้าร่วมประชุมอนุกรรมการจัดงานสัมมนาสถาปัตยกรรมแห่งชาติ


เมื่อวันที่ 15 และ19 ตุลาคม 52    อ.กนกวลี เป็นตัวแทนสมาคมภูมิสถาปนิกเข้าร่วมประชุมอนุกรรมการจัดงานสัมมนาสถาปัตยกรรมแห่งชาติ จัดขึ้นโดยสภาสถาปนิก เพื่อเตรียมการจัดเสวนา "เมืองน่าอยู่แบบไทย ทำอย่างไร" ซึ่งจะจัดขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง ตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือน พฤษภาคม ก่อนการจัดงานสถาปนิก 53 โดยารเสวนาครั้งแรกคือหัวข้อ "พลังงานกับการออกแบบ" และทางสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย(TALA) จะเป็นเจ้าภาพร่วมกับสภาสถาปนิกในการเสวนาหัวข้อ "การจัดการน้ำ" ที่จะจัดขึ้นในเดือนมกราคม 

Labels:


Monday, October 26, 2009

ก่อสร้างสวนแนวตั้ง


เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2009 อ.สิรินทรา วัณโณ ได้เข้าเยี่ยม เป็นกำลังใจและให้คำปรึกษาแก่ทีมงานนิสิต 3 ทีมที่ได้รับคัดเลือกเข้ารอบ 10 ทีมสุดท้ายในการประกวดสวนแนวตั้งที่ได้จัดสวนโชว์ ในงานบ้านและสวนแฟร์ 2009

Labels: ,


Monday, October 19, 2009

อ.ปารณ บริการวิชาการ จ.กาฬสินธุ์


เมื่อวันที่ 15-18 ตุลาคม 2552 อ.ปารณ ชาตกุล ได้ไปสำรวจพื้นที่ในโครงการพัฒนาเมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยศูนย์บริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยคณาจารย์จากภาควิชาอื่นๆ ได้แก่ ผศ.ชัยชนะ แสงสว่าง(หัวหน้าโครงการ) ผศ.ดร.ดุษฎี ทายตะคุ ผศ.ดร.ระหัตร โรจนประดิษฐ์ และคณะทำงาน ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ปี

อ.ปารณ จะทำหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องของพืชพรรณ และการจัดการภูมิสถาปัตยกรรม

Labels:


Thursday, October 15, 2009

เยี่ยมค่ายอาสา

อ.ภาวิณี และอ.สิรินทรา ได้ร่วมเดินทางไปเยี่ยมค่าย อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ 14-16 ตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา





Labels: ,


Monday, October 12, 2009

รศ. จามรี อาระยานิมิตสกุล: นิสิตเก่าดีเด่น สายวิชาการ

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2552 สมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดงานคืนสู่เหย้า Toreador Night 2009 ในโอกาสนี้ได้มีการให้รางวัลนิสิตเก่าดีเด่นทางด้านวิชาการ วิชาชีพ ด้านสังคม และข้าราชการ รศ.จามรี อาระยานิมิตสกุล อาจารย์ภาคภูมิสถาปัตยกรรม ได้รางวัลในสายวิชาการ

Labels:


Saturday, October 10, 2009

ต้อนรับ Mr Fumiaki Takano (Takano Landscape)

นิสิต 6 คนที่ลงวิชา LA Ind Study เมื่อปีการศึกษา 2551 และ รศ.อริยา อรุณินท์ ได้ให้การต้อนรับ Mr Fumiaki Takano จากสำนักงานออกแบบTakano Landscape ประเทศญี่ปุ่น และ Japan IFLA delegate ซึ่งเคยเป็น Host ให้กับ workshop ที่เมือง Obihiro และ Sapporo [รายละเอียด] ในโอกาสที่แวะมากรุงเทพฯระยะสั้นระหว่างวันที่ 9-10 ตุลาคม 2552

Labels: , ,


Monday, October 05, 2009

ประชุมศูนย์นวัตกรรม


เมื่อวันที่ 3-4 ตุลาคม 2552 ศ.กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ, รศ.นิลุบล คล่องเวสสะ, อ.ดร.ดนัย ทายตะคุ, และ อ.ปารณ ชาตกุล ได้เข้าร่วมการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแนวทางของศูนย์นวัตกรรมของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ไอยรา รีสอร์ท จังหวัด นครนายก

Labels: , , ,


Friday, October 02, 2009

อาจารย์ปารณรับเชิญตรวจงานนอกคณะฯ

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2552 เวลา 10.00-14.00 น. อาจารย์ปารณ ชาตกุล ได้รับเชิญให้ไปร่วมตรวจวิจารณ์งานนิสิต ในวิชา Urban politics ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Labels:


สาระศาสตร์ #14 : การประชุมวิชาการสถาปัตยกรรมและศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่อง


เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2552 คณาจารย์และนิสิตปริญญาโทจากภาควิชาฯ ได้ร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาการ ในการประชุมวิชาการสถาปัตยกรรมและศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่อง สาระศาสตร์ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2552
ห้อง 211 คณาจารย์นำเสนอผลงาน มีรายการดังต่อไปนี้
11.00 น. - 11.30 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พงศ์ศักดิ์ วัฒนสินธุ์ มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพน้ำพุร้อนธรรมชาติ
11.30 น. - 12.00 น. รองศาสตราจารย์ จามรี อาระยานิมิตสกุล แผนจัดการถนนและพื้นที่สองข้างทาง : เส้นทางชมทิวทัศน์ทะเลสาบ สงขลา
13.30 น. - 14.00 น. อาจารย์ ภาวดี ธนวิสุทธิ์ การออกแบบรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง การปรับปรุงพื้นที่นำร่องโครงการปรับปรุงพื้นที่ริมถนนเพื่อผู้สูงอายุและคน พิการ
14.45 น. - 15.15 น. อาจารย์ วิลาสินี สุขสว่าง แนวทางการกำหนดเขตจัดการเชิงทัศน์เพื่อการจัดการปัญหามลทัศน์จากป้ายโฆษณา กรณีศึกษา : เทศบาลเมืองป่าตอง จังหวัดภูเก็ต
15.15 น. - 15.45 น. อาจารย์ ปารณ ชาตกุล บันทึกความเปลี่ยนแปลงของสวนและต้นไม้ในรอบปี : พระจุฑาธุชราชฐาน เกาะสีชัง
การประชุมครั้งนี้ ศ.ดร.บัณฑิต จุลาสัย คณบดี เป็น Key note speaker

ห้อง 209 นิสิตภาควิชาฯนำเสนอผลงาน มีรายการดังต่อไปนี้

09.40 น. - 10.00 น. น.ส.สิรินทิพย์ สินแสงแก้ว แนวทางการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์วัฒนธรรมตามโครงการนำร่องการบริหารจัดการ และพัฒนาพื้นที่การเกษตรเป็นพื้นที่รองรับน้ำนอง เพื่อบรรเทาอุทกภัยตามแนวพระราชดำริแก้มลิง อำเภอบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา
10.10 น. - 10.30 น. นายพลกฤต กฤตโยภาส ข้อพิจารณาเพื่อการออกแบบพื้นที่โล่งหน้าอาคารพาณิชยกรรม ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร
11.00 น. - 11.20 น. น.ส.ภัทรมน น้อยเนียม การรับรู้เชิงทัศน์และทัศนคติต่อการประเมินอัตลักษณ์และปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาเพื่อรองรับการท่องเที่ยว กรณีศึกษา : หาดบางเทา หาดสุรินทร์ และหาดกมลา จังหวัดภูเก็ต
11.30 น. - 11.50 น. นายภาณุ เอี่ยมต่อม การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ของบางใหญ่ช่วงปี พ.ศ.2495 ถึงปัจจุบัน

13.00 น. - 13.20 น. นายปวิช ศรีละมุล แนวทางการออกแบบและกำหนดพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุในสวนสาธารณะระดับชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร
13.30 น. - 13.50 น. นายพลัง สิทธิถาวร ภูมิทัศน์ท้องถิ่นกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดน่าน
14.00 น. - 14.20 น. นางจารุณี จันทรลักษณ์ ภูมิทัศน์กาดในจังหวัดเชียงใหม่
14.45 น. - 15.05 น. น.ส.สิรีอร คีรีวงก์ แนวทางการพัฒนาโครงข่ายและภูมิทัศน์ทางเดินเท้าหลักในเขตการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว
15.15 น. - 15.35 น. น.ส.สุภลัคน์ ผิวบาง พื้นที่เปิดโล่งของวิทยาเขตในประเทศไทย

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ กำหนดให้มีการจัด “สาระศาสตร์: การประชุมวิชาการสถาปัตยกรรมและศาสตร์เกี่ยวเนื่อง” เพื่อให้คณาจารย์ นักวิชาการ และนิสิต ร่วมแสดงความคิดและเสนอผลงานวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และงานออกแบบอย่างอิสระ อันจะก่อให้เกิดความก้าวหน้าและการเผยแพร่ของศาสตร์ไปในมิติต่างๆ อันจักเป็นประโยชน์แก่วงวิชาการ วิชาชีพ และเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาประเทศต่อไป ซึ่งนอกเหนือจากภารกิจหลักในการผลิตสถาปนิกและนักออกแบบสาขาต่างๆที่มีคุณภาพออกไปรับใช้ประเทศชาติแล้ว การส่งเสริมกิจกรรมด้านวิจัยและวิชาการนับเป็นภารกิจสำคัญที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการมาโดยตลอด

Labels: , , , , ,


Thursday, October 01, 2009

นิสิตภาควิชาฯ เข้ารอบ Qualifiers for the 46th IFLA World Congress Final Students Design Competition



ผลงาน Photo-synthesis โดยนิสิตภาควิชาฯ เข้ารอบ Qualifiers 25 ทีม ในการประกวดแบบระดับนานาชาติ the 46th IFLA World Congress Students Design Competition เป็นทีมจากประเทศไทยทีมเดียว นำโดย นายสรคม คล่องเวสสะ และทีมประกอบด้วย นายโยธิน ศรีสุขทรัพย์สิน, นายสุรกิติ์ ชมไพศาล และนิสิตจากภาคออกแบบอุตสาหกรรม [ list รายชื่อผู้เข้ารอบ ]
หมายเหตุ - อ.ฉมาวงศ์ สุริยจันทร์ เป็นผู้จัดส่งผลงาน LA SKD ชั้นปีที่ 5 เข้าประกวดผลงานระดับนักศึกษาครั้งนี้

Labels: , ,


This page is powered by Blogger. Isn't yours?